Thursday, July 15, 2010

การทำหนังสั้น ตอนที่ 3

ทุนและอุปกรณ์
สำคัญมากครับ ทุนไม่ได้หมายถึงเงินเท่านั้น เพราะมันมีคำกล่าวหนึ่งที่ว่า เงินไม่สามารถใช้แก้ปัญหาทุกอย่างได้ แต่งบยังรวมสามารถหมายถึงอุปกรณ์ได้ด้วย อย่างคุณไม่มีกล้องวีดีโอเป็นของตัวเอง ก็ต้องไปขอยืมเพื่อนมาถ่าย อันนี้ก็นับได้ว่าเป็นทุนของเพื่อนที่มาร่วมด้วย หรืออย่างใช้บ้านของพ่อแม่เป็นโลเคชั่น ก็ถือว่าพ่อแม่ช่วยเรื่องทุนในแง่ของสถานที่ไป แต่หลักๆ แล้วทุนก็คือ “เงิน” น่ะแหละครับ

อย่าประมาทนะครับ ถ้าคิดว่าไม่มีเงินก็ทำหนังสั้นได้ ในสังคมทุนนิยมแบบนี้ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม สุดท้ายแล้วคุณก็ต้องใช้เงินอยู่ดีไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เพียงแต่ว่าจะใช้มากหรือใช้น้อยก็เท่านั้น อย่างตัวผมเอง เคยใช้งบ 500 บาทเพื่อทำหนัง 5 นาทีแต่มีเอฟเฟกต์ภาพสารพัด แต่จริงๆ แล้วที่ประหยัดได้ขนาดนี้เพราะว่าเพื่อนรุ่นพี่ที่ทำด้วยกันนั้น เขามีทั้งกล้องและคอมสำหรับตัดต่อและทำเอฟเฟกต์พร้อม บ้านก็อาศัยบ้านเขาถ่าย นางเอกก็เป็นน้องที่รู้จักกันชวนมาเล่นฟรีๆ ได้ จ่ายก็แต่ค่ารถเดินทางและค่าข้าวเหนียวส้มตำมานั่งกินกันหลังถ่ายเสร็จ

ที่ผมบอกว่าเงินนั้นสำคัญก็เพราะว่า กองทัพต้องเดินด้วยท้องครับ เงินที่มีนอกจากสำหรับจะซื้อเทปก็ดี จะซื้อของมาเข้าฉากก็ดี อีกอย่างที่ไม่ควรลืมและขาดไม่ได้ก็คือการเลี้ยงข้าวทีมงาน ผู้กำกับอย่ามองว่าทีมงานเป็นเพื่อนเรา ถ้าอดหน่อยจะเป็นไรไป หรือมองว่า “อยากมาช่วยฉันทำหนังเรื่องนี้เอง ฉันไม่มีอาหารเลี้ยงหรอกนะ ไปหาอะไรกินกันเองก็แล้วกัน” ความคิดแบบนี้ไม่ดีครับผมไม่สนับสนุนด้วยเลย ผู้กำกับควรมีเงินเพื่อซื้อข้าวเลี้ยงทีมงานด้วยครับ อาจจะใช้ให้ผู้ช่วยผู้กำกับไปซื้อ เขามาทำงานเขาไม่ได้เงินสักแดงเดียวอยู่แล้ว จึงน่าจะมีการแสดงความซาบซึ้งในน้ำใจตอบแทนอะไรให้แก่เพื่อนของเราบ้างนะ ครับ

เรื่องการใช้เงินในการทำหนังนี่แล้วแต่ความสะดวกของแต่ล่ะคนครับ มี 500 ก็ใช้ 500 ไม่มี (ทั้งเงินและคน) ก็ถ่ายคนเดียว ถ่ายเองเล่นเองก็ได้หากเรื่องมันสามารถทำได้อย่างนั้น (แต่นั่นแหละครับ ไม่ใช่เรื่องเหมาะสมสักเท่าไหร่ ทางทีดีควรมีเพื่อนมาช่วยจะดีที่สุด) และพยายามวางแผนการใช้เงินให้เป็นระบบนะครับ ใช้เงินให้ถูกจุดไม่ฟุ่มเฟื่อยเกินกว่าเหตุ เมื่อนั้นการทำหนังสั้นก็จะราบรื่นครับ

หาเพื่อนร่วมขบวนการ อย่างที่บอกไป ทำหนังคนเดียวก็ได้แต่มันอาจจะไม่เวิร์คครับ เพราะฉะนั้นการมีทีมงานมาช่วยเรารองรับเรื่องต่างๆ เช่น มีคนนี้มาช่วยถ่าย มีคนนั้นมาเป็นผู้ช่วยผู้กำกับ และตำแหน่งอื่นๆ

ทีมงานสำหรับการทำหนังเรื่องแรกควรจะเป็นเพื่อนครับ เพื่อนที่รู้จักกันดีพอสมควร ยิ่งเคยทำงานร่วมกันยิ่งดี เพราะจะได้มองเห็นว่าอุปนิสัยใจคอของเพื่อนเป็นเช่นไร และทำให้ดูออกว่าเพื่อนสามารถมาช่วยเราทำหนังได้ไหม เพื่อนเมื่อมาช่วยเราแล้ว จะมาทำให้เราทำงานยากหรือง่ายขึ้น เพื่อนจะเชื่อเราในฐานะที่เราเป็นหัวหน้างาน (ผู้กำกับ) และสามารถทำตามที่เราสั่งได้หรือไม่ สรุปคือ การเอาเพื่อนมาช่วยมีทั้งข้อดีและข้อเสียครับ อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับการเลือกเพื่อนเป็นหลัก เพื่อนต้องน้อมรับความคิดของเราเพราะมันเป็นหนังของเรา แต่เราก็ควรจะเปิดโอกาสให้เพื่อนแสดงความคิดเห็นบ้างในระดับที่สมควรและไม่ ทำให้งานเสีย
ตำแหน่งต่างๆ ที่กองถ่ายหนังสั้นควรมี มีดังต่อไปนี้

1.ตากล้อง ผู้กำกับไม่ควรถ่ายภาพเองครับเพราะอาจจะทำให้ไม่มีสมาธิต่อการกำกับการแสดง แต่ถ้าหากจำเป็นจริงๆ แบบหาคนมาถ่ายให้ไม่ได้เลย จะถ่ายเองก็ได้ แต่ถ้ามันไม่จำเป็นขนาดนั้นก็ควรให้คนอื่นถ่าย

2.ผู้ช่วยผู้กำกับ เป็นคนที่จะมาช่วยแบ่งเบาภาระในการทำงานของผู้กำกับ โดยการช่วยคอยดูนักแสดง คอยดูว่าถ่ายฉากนี้เสร็จ ต่อไปจะต้องถ่ายอะไรต่อ และควรวางแผนการถ่ายทำอย่างไร

3.ผู้จัดการกองถ่าย มาคอยดูแลเรื่องการเงิน การใช้จ่ายให้เป็นไปตามงบประมาณที่มีอยู่

4.คนบันทึกเสียง ตำแหน่งนี้ก็จำเป็นครับ แต่ก็ขึ้นอยู่ว่าคุณมีอุปกรณ์บันทึกเสียง พวกไมค์บูมไว้ต่อกับกล้องหรือเปล่า หรือคุณซีเรียสกับเรื่องเสียงแค่ไหน ถ้าคุณซีเรียสคุณก็ต้องมีคนบันทึกเสียงครับ

ตำแหน่งอื่นๆ รองลงมาก็ ฝ่ายศิลป์ มาดูแลเรื่องฉากและของประกอบฉาก,ฝ่ายเสื้อผ้า และฝ่ายอื่นๆ ตามแต่จะจัดหาตำแหน่งออกมาได้ ช่วยเรื่องโปรดิวเซอร์ หรือผู้อำนวยการสร้าง หรือจะเรียกว่าดูแลการผลิตก็ได้ ก็แล้วแต่ครับ ส่วนมากหนังสั้นเรื่องแรกผู้กำกับมักเหมาเป็นเองซะเลยเพราะไม่รู้จะให้ใครทำ ตรงนี้ดี

คนที่ทำงานในแต่ล่ะตำแหน่งควรจะรู้หน้าที่ของตัวเองนะครับ เช่น ฝ่ายศิลป์ ก็รู้ดีว่าของประกอบฉากที่ผู้กำกับต้องการให้อยู่ในฉากนั้นๆ มีอะไรบ้าง หรือว่าฝ่ายเสื้อผ้าก็ต้องรู้ว่าในฉากเปิดเรื่อง ผู้กำกับอยากให้พระเอกใส่เสื้อสีอะไร หรือคนบันทึกเสียงก็ควรจะรู้ว่า ฉากนี้มีนักแสดงคนไหนพูดอะไรบ้าง ทุกคนควรรู้หน้าที่ของตัวเองและตั้งใจทำงานครับ ควรมีความเชื่อร่วมกันว่าหนังที่กำลังทำด้วยกันอยู่นี้เป็นหนังของทุกคน ไม่ได้เป็นแค่หนังของผู้กำกับคนเดียวเท่านั้น ผลงานที่เสร็จออกมาจะมีชื่อคุณทุกคน และหากมีข้อผิดพลาดใดๆ ก็ตามในหนังที่เกิดขึ้นเพราะคุณมีส่วน มันก็จะฟ้องออกมาว่าคุณไม่ตั้งใจทำหนัง แต่นั้นยังไม่เท่ากับการที่ผลงานที่ควรจะได้รับการชื่นชมยกย่องมากกว่านี้ กลับก้าวไปไม่ถึงไหน และความฝันของคนตัวเล็กๆ คนหนึ่งก็อาจจะสลายไป

อันนี้ก็ไม่ควรไปเรียกร้องจากคนทำงานฝ่ายเดียว ผู้กำกับควรมองออกตั้งแต่แรกว่า คนที่เขาชวนมาทำงานตำแหน่งนั้นตำแหน่งนี้ เขาอยากทำจริงๆ หรือเปล่าหรือเขาเหมือนโดนบังคับ ความสมัครใจเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของงานที่ต้องการความร่วมมือร่วมใจจากทุกๆ คนนะครับ

การคัดเลือกนัก แสดง

มีหลักง่ายๆ ควรจำดังนี้นะครับ 1.ควรเป็นบ้านเรา บ้านญาติ หรือบ้านเพื่อนที่สามารถคุยกันได้ และสามารถทำงานได้ง่ายๆ 2.ถ้าเป็นบ้านคนอื่นอย่างบ้านเพื่อนของเพื่อน ก็ควรคุยกับเจ้าของบ้านให้ดีว่า เราจะถ่ายหนังกันและอาจจะรบกวนการใช้ชีวิตปรกติของคนในบ้าน ควรทำความเข้าใจกันก่อนไม่งั้นจะซวยได้ภายหลัง
3.ควรเป็นสถานที่ๆ มีความเงียบสงบพอจะถ่ายหนังได้ ไม่มีการก่อสร้างที่บ้านข้างๆ เพราะการที่เราจะไปขอให้เขาหยุดทำงานเพื่อให้เราทำงานได้เป็นเรื่องที่ยาก ยิ่ง 4.เป็นสถานที่ๆ ตรงกับในจินตนาการที่เราได้คิดไว้.... (โปรดติดตามตอนต่อไป)
ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.thaishortfilm.com/board/viewtopic.php?t=5113

No comments:

Post a Comment